Journey
Senate
Sappaya-Sapasathan
คู่มือนำชมวุฒิสภา
scroll down
รัฐสภาไทย
เส้นทางประชาธิปไตยของประชาชน
นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ประเทศไทยได้มีอาคารรัฐสภามาแล้ว 3 แห่ง
1. พระที่นั่งอนันตสมาคม
2. อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน
3. สัปปายะสภาสถาน อาคารรัฐสภาปัจจุบัน
ย้อนรอยอดีต เส้นทางการปกครองของไทย
และกำเนิด "วุฒิสภา"
สัปปายะสภาสถาน
อาคารรัฐสภาแห่งที่ 3 ของไทย นับเป็นสัญลักษณ์ของการส่งไม้ต่อจากรัฐบาลสู่รัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ที่ได้เริ่มมีการพูดคุยถึงแนวคิดในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่เนื่องจากอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน คับแคบลง จนกระทั่ง ก่อสร้างแล้วเสร็จและมีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2564
ทำความรู้จัก
ความเป็นมาของอาคารรัฐสภาโดยเฉพาะอาคารหลังใหม่
"สัปปายะสภาสถาน"
“สัปปายะสภาสถาน” อาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นอาคารของรัฐที่ใหญ่เป็นลำดับ 2 ของโลก ได้รับแรงบัลดาลใจในการออกแบบมาจากไตรภูมิคติแห่งพระพุทธศาสนา มีองค์ประกอบแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
อาคารส่วนกลางโดดเด่นด้วยเครื่องยอดสีทอง เป็นแบบจำลองของเขาพระสุเมรุ มีมณฑปหรือเจดีย์ทองอยู่บนยอด
ขนาบด้านซ้ายและด้านขวา ด้วยห้องประชุมพระจันทราหรือห้องประชุมใหญ่สมาชิกวุฒิสภา และห้องประชุมพระสุริยัน หรือห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร
พื้นที่โดยรอบอาคารเป็นพื้นที่ Public Space สำหรับประชาชนเข้ามาใช้ในการพักผ่อนหรือแสดงออกทางการเมือง โดยตกแต่งด้วยต้นไม้นานาชนิด ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศร่มรื่น ดั่งการยกป่าหิมพานต์
มาไว้ที่อาคารรัฐสภา
Let's take a tour
Senate Theater
จุดเริ่มต้นที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับการเมืองการปกครองไทย ภายใต้ระบบรัฐสภา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สระมรกต
สระน้ำสีเขียว ที่โอบล้อมอาคารส่วนกลางเป็นภาพสะท้อนของภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถาปัตยกรรมแบบ “ตู้กับข้าว” คือการใช้ประโยชน์จากไอระเหยของน้ำ ประกอบกับการพัดพาของลมธรรมชาติที่ไหลผ่านช่องลมของอาคาร ทำให้พื้นที่ส่วนกลางมีอุณหภูมิที่เย็น โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ เรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาแห่งอาคารประหยัดพลังงาน
ห้องประชุมใหญ่สมาชิกวุฒิสภา
สถานที่สำคัญของกระบวนการนิติบัญญัติใช้ในการประชุมของสมาชิกวุฒิสภา เพื่อทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทำความเข้าใจ
หน้าที่และอำนาจของ สว. ในคลิปเดียว
ห้องประชุมใหญ่สมาชิกวุฒิสภา
“พระจันทรา” หรือเทพแห่งดวงจันทร์ คือแนวคิดในการออกแบบห้องประชุมใหญ่สมาชิกวุฒิสภาใช้โทนสีเทาของดวงจันทร์ยามค่ำคืน ให้ความรู้สึกสบายตา สงบนิ่ง เช่นเดียวกับบุคลิกอันสุขุมของสภาสูง ซึ่งจะตรงข้ามกับโทนสีของห้องประชุมพระสุริยันต์ หรือห้องประชุมใหญ่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นห้องโทนสีส้มของดวงอาทิตย์สะท้อนการถ่วงดุลอำนาจ และสอดประสานตรวจสอบซึ่งกันและกันของ สว. และ สส. เหนือห้องประชุมถูกตกแต่งด้วยสัญลักษณ์ “ขวัญ” อันหมายถึงศูนย์รวมจิตวิญญาณของมนุษย์ เมื่อขวัญอยู่กับตัวจะทำให้มีความสงบ เป็นสุข
ห้องประชุมใหญ่สมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยพื้นที่การใช้สอย 3 ส่วน
ใครนั่งตรงไหน ?
ในห้องประชุม
บัลลังก์ด้านหน้าห้องประชุม เป็นพื้นที่สำหรับ
ประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง
และรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง
ทำหน้าที่ประธานในการประชุม
ที่นั่งของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายให้มาชี้แจง
ต่อที่ประชุมวุฒิสภา
กรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีการหารือ หรือผู้ชี้แจงจากหน่วยงานต่าง ๆ
เลขาธิการวุฒิสภา และรองเลขาธิการวุฒิสภา
ทำหน้าที่ ฝ่ายเลขานุการในการประชุม
เจ้าหน้าที่สำนักการประชุม และเจ้าหน้าที่สำนัก
รายงานการประชุมและชวเลข
พื้นที่สังเกตการณ์การประชุม
ของประชาชน จะอยู่ชั้นบนสุด
เหนือที่นั่งของสมาชิกวุฒิสภา
เพื่อสะท้อนเจตนารมย์ว่า
อำนาจทางการเมืองที่แท้จริง
เป็นของประชาชน
และ
ที่นั่งของสมาชิกวุฒิสภา
มีการปรับเปลี่ยนจำนวนที่นั่ง
ตามจำนวนสมาชิกวุฒิสภา
ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
เครื่องยอด
เครื่องยอดบริเวณกึ่งกลางของอาคาร
เป็นแบบจำลองของเขาพระสุเมรุ
ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักวาลตามหลัก
ไตรภูมิ ที่ถูกล้อมรอบด้วยสระน้ำ
จากแนวคิดของสีทันดรสมุทร
พื้นที่ด้านในเครื่องยอด ใช้เป็นโถงรัฐพิธี
เพื่อใช้ในการประกอบรัฐพิธีสำคัญต่าง ๆ
อาทิ รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
หอสมุดสำหรับประชาชน ตั้งอยู่ที่ ชั้น 9
อาคารโซนกลาง เปิดให้บริการเวลา
08.30 - 16.30 นาฬิกา เป็นแหล่ง
รวบรวมเอกสาร หนังสือ และหลักฐาน
หายาก ที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทย
เอกสารการประชุม หนังสือและสิ่งพิมพ์
ต่าง ๆ ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการ
ประติมากรรมปลาอานนท์
เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ
ตามความเชื่อในคติโบราณของไทยว่า
ใต้ผืนแผ่นดินเป็นที่อยู่ของปลา ซึ่งมี
ขนาดมโหฬาร ยาวนับ 1,000 โยชน์
ที่นอนนิ่งสงบและด้วยขนาดที่
ใหญ่มหึมานี้ ทำให้เกิดความเชื่อว่า
เมื่อเวลาที่ปลาอานนท์พลิกตัว จะทำให้
เกิดแผ่นดินไหว และภัยพิบัติเหนือผิวโลก
scroll down
ภาพ : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับพระราชบัลลังก์ พร้อมด้วยราชบริพาร เชิญเครื่องราชูปโภค
พระบรมราชานุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงสละราชอำนาจให้แก่ปวงชนชาวไทย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย รัฐสภาจึงได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อรำลึกถึงพระองค์ท่าน โดยมีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริงทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สวมพระชฎามหากฐินปักขนนกการเวกประทับเหนือพระที่นั่งพุตตานกาญจนสิงหาสน์ พระหัตถ์วางเหนือพระเพลาทั้ง 2 ข้าง ทรงประดิษฐานครั้งแรก ณ หน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2523
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ฝ่ายเลขานุการ กระบวนการนิติบัญญัติ
สนับสนุนงานด้านวิชาการและธุรการ ในการประชุมวุฒิสภา
สนับสนุนงานด้านวิชาการและธุรการ ในการประชุม
คณะกรรมาธิการ
สนับสนุน ส่งเสริม และเผยแพร่การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์
และวิจัย ข้อมูลสำหรับประกอบการดำเนินงานของสมาชิกวุฒิสภา
ภารกิจอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการนิติบัญญัติ
มีใจร่วมกัน
มีส่วนร่วม
มีผู้นำที่ดี
ขับเคลื่อนองค์กร
ด้วย 5 ปัจจัย
มีเป้าหมาย
มีแรงบัลดาลใจ
วิสัยทัศน์ผู้บริหาร สู่การทำงานเพื่อสังคม
Call Center วุฒิสภา
Happy 4+ You สุขใจที่ให้บริการ
เปิดให้บริการ
07.30 – 17.30 น. ของทุกวันทำการ
โทร 02-831-9111 กด 0
@SenateCallCenter
สำนักงาน
เลขาธิการวุฒิสภา
ที่อยู่
เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี
เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
หมายเลขโทรศัพท์
02-831-9111 กด 0
Website
https://www.senate.go.th